บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2018

qGACE

รูปภาพ
ฉายแสงที่มีความยาวคลื่น \(λ\) เข้าอย่างตั้งฉากกับเกรตติ้งซึ่งมีระยะห่างระหว่างสลิต \(d\) ดังรูป 2 ตามรูปตอนนี้ แสงที่เลี้ยวเบนซึ่งออกมาจากสลิตที่อยู่ช่องติดกัน มี ผลต่างเส้นทางเท่ากับ หนึ่งความยาวคลื่นพอดี รังสีแสงเลี้ยวเบนเหล่านี้แทรกสอดแบบเสริมกัน จะเรียกแสงเลี้ยวเบนที่เดินทางไปตามแนวนี้ว่า แสงเลี้ยวเบนลำดับที่ 1 รูป 2 (ข้อ 4) เมื่อระยะห่างระหว่างสลิต \(d\) เท่ากับ \(1.0 \times 10^{-6} \;\mathrm{m}\) ความยาวคลื่นของแสง \(λ\) เท่ากับ \(0.5 \times 10^{-6} \;\mathrm{m}\) มุม \(θ\) ที่แสงเลี้ยวเบนลำดับที่ 1 กระทำกับแนวของแสงตกกระทบมีค่าเท่าใด (ข้อ 5) ฉายรังสีแสงจากดวงอาทิตย์เป็นเส้นเล็ก ๆ เข้าอย่างตั้งฉากกับเกรตติ้ง และเมื่อแสงที่ทะลุผ่านออกมาตกลงบนฉากรับ ปรากฏแถบสเปกตรัมของแสงเลี้ยวเบนลำดับที่ 1 ขึ้น จงเลือกภาพหนึ่งภาพจาก ①~⑥ ซึ่งแสดงการเรียงลำดับของสีของแสงในสถานการณ์นี้ได้เหมาะสมที่สุด กำหนดให้จุด P เป็นจุดตัดของฉาก กับ แนวรังสีแสงตกกระทบที่ลากต่อออกมา รูป 3        

qH18A

รูปภาพ
เมื่อฉายแสงสีเดียวเข้าอย่างตั้งฉากกับเกรตติ้งซึ่งมีระยะห่างระหว่างสลิต \(d\) ตามรูปที่ 1 แล้ว ปรากฏริ้วสว่างขึ้นในทิศทางที่แสงซึ่งออกจากสลิตช่องติดกันแทรกสอดแบบเสริมกัน ทำการติดตั้งฉากทรงกระบอกรัศมี \(1.0 \; {\rm m}\) ไว้ตามรูป 2(a) วางเกรตติ้งเอาไว้ที่แกนกลางของทรงกระบอกโดยให้แนวของแกนกลางทรงกระบอกขนานกับแนวของสลิตในเกรตติ้ง รูป 2(b) คือรูป 2(a) เมื่อมองจากด้านบนลงมาตรง ๆ ฉายแสงสีเดียวเข้าอย่างตั้งฉากกับเกรตติ้งตามรูป 2(b) กำหนดให้มุมระหว่างแนวแสงตกกระทบ กับ แนวแสงเลี้ยวเบนออกเป็น \(θ\) และทำการสังเกตริ้วสว่างที่ปรากฏขึ้นบนฉากในช่วง \(-60^{\circ} \lt \theta \lt 60^{\circ}\) กำหนดให้ตำแหน่งของเกรตติ้งเป็นจุดกำเนิด \({\rm O}\) และให้ทิศทางที่ตั้งฉากกับทั้งแกนกลางทรงกลมและแนวของรังสีตกกระทบเป็นแกน \(x\) รูป 1     (ข้อ 1) เมื่อฉายแสงสีเดียวที่มีความยาวคลื่น \(6.0 \times 10^{-7}\; \mathrm{m} \) เข้าอย่างตั้งฉากกับเกรตติ้งซึ่งมีระยะห่างระหว่างสลิต \(d\) เท่ากับ \( 1.2 \times 10^{-6} \; \mathrm{m} \