รุ้ง

รุ้ง

หลังจากที่ฝนหยุดตกใหม่ ๆ หากว่าเรามองไปทางทิศตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ (ถ้าพระอาทิตย์อยู่ทางทิศตะวันตก: ท้องฟ้าซีกตะวันออก) เราจะสามารถเห็นรุ้งได้ครับ ถ้าวาดให้ถูกต้องแม่นยำมากขึ้นอีกนิด จะได้ตำแหน่งความสัมพันธ์แบบในรูปด้านล่างนี้ครับ













เส้นเชื่อมระหว่างดวงอาทิตย์กับมนุษย์จะผ่านจุดศูนย์กลางของรุ้งครับ
ดังนั้นเวลาที่จะมองเห็นรุ้งคือตอนเช้าหรือตอนเย็นครับ ตอนบ่าย 2 จะมองไม่เห็นรุ้งครับ !

ถ้าขึ้นไปบนตึกระฟ้า อาจจะมองเห็นรุ้งที่เต็มวงนะครับ หรือไม่ก็มองจากเครื่องบิน...
ความจริง หากว่าใช้เครื่องพ่นละอองน้ำเก่ง ๆ ก็สามารถมองเห็นรุ้งทุกเมื่อเช่นกันครับ

สำหรับรุ้งที่มองเห็นตอนเที่ยงวันเหนือศีรษะที่พบเห็นได้น้อยครั้งมาก ๆ นั้น จะมีความสัมพันธ์ของตำแหน่งดังรูปด้านล่างนี้ครับ


รุ้งคือสิ่งที่เกิดจากการหักเห, การกระจาย, และการสะท้อนของรังสีแสงอาทิตย์ ในละอองหมอกครับ



ที่ที่มีสายรุ้งนั้นมีเพียงแค่ละอองหมอกเท่านั้นครับ ตาของมนุษย์จะสามารถมองเห็นรุ้งหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ของตำแหน่งของดวงอาทิตย์,มนุษย์ และ ละอองหมอกครับ ดังนั้นแล้ว หากในตอนเย็นของวันหนึ่ง คนที่เมืองนาโกย่าสามารถมองเห็นรุ้งบนภูเขาไฟฟูจิแล้ว ไม่ได้หมายความว่าหากมองจากเมืองโตเกียวแล้วจะเห็นรุ้งบนภูเขาไฟฟูจิด้วยครับ บนภูเขาไฟฟูจิไม่ได้มีรุ้งอยู่จริง ๆ ครับ สิ่งที่มีอยู่จริงบนภูเขาไฟฟูจิมีเพียงแค่ละอองหมอกเท่านั้นครับ (หมายเหตุผู้แปล: ถ้าเรียงลำดับจะได้ <ตะวันตก> ดวงอาทิตย์ -> เมืองนาโกย่า -> ภูเขาไฟฟูจิ -> เมืองโตเกียว <ตะวันออก>) สิ่งที่เรียกว่ารุ้งนั้น มีอยู่เพียงแค่ในสมองของคนที่กำลังมองรุ้งอยู่เท่านั้นครับ

(อ้างอิงจากบท『แสงที่ผ่านเลนส์_เสริม』ด้วยนะครับ)

ความคิดเห็น