เลนส์เว้า

เลนส์เว้า

หาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณ 3 ตัว

จะลองคิดถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรสามตัวนี้สำหรับเลนส์เว้า แบบเดียวกับกรณีของเลนส์นูนดูครับ

ระยะจากวัตถุถึงเลนส์ \(:a\)
ระยะจากเลนส์ถึงภาพ \(:b\)
ระยะโฟกัส \(:f\)


ภาพที่เลนส์เว้าสร้างขึ้น

จะกำหนดตัวแปรดังในรูปด้านซ้าย โดยให้ระยะจากวัตถุถึงเลนส์เว้าเป็น \(a\) ระยะจากเลนส์เว้าถึงภาพเป็น \(b\) ระยะโฟกัสของเลนส์เว้าเป็น \(f\) ครับ

เส้นสีแดงในรูปด้านซ้ายคือเส้นที่อ้างอิงจากหลักข้อ (1), (2) ของบท ภาพที่เกิดจากเลนส์ (เลนส์เว้า) ครับ และเพราะว่าเส้นที่อ้างอิงจากหลักข้อ (3)ไม่มีความจำเป็นจึงไม่ได้วาดไว้ครับ


เนื่องจาก \(\color{lime}{\triangle {\rm AA’O}}\) คล้ายกับ \(\color{orange}{\triangle {\rm BB’O}}\) ดังนั้น

\(\color{#b63}{\large{\frac{\mathrm{BB}^{\prime}}{\mathrm{AA}^{\prime}}}}=\large{\frac{\mathrm{B}^{\prime} \mathrm{O}}{\mathrm{A}^{\prime} \mathrm{O}}}=\large{\frac{b}{a}}\hspace{12pt} \cdot\cdot\cdot\cdot\cdot\cdot ①\)

นอกจากนี้ เนื่องจาก \({\rm AA'}={\rm PO}\) และ \(\color{lime}{\triangle {\rm POF_{1}}}\) คล้ายกับ \(\color{orange}{\triangle {\rm BB’F_{1}}}\) ดังนั้น

\({\color{brown}{\large\frac{\mathrm{BB}^{\prime}}{\mathrm{AA}^{\prime}}}}={\large{\frac{\mathrm{BB}^{\prime}}{\mathrm{PO}}}}={\large{\frac{\mathrm{B}^{\prime} \mathrm{F}_{1}}{\mathrm{OF}_{1}}}}={\large{\frac{f-b}{f}}}\)

ดังนั้นแล้ว

\begin{align} \large{\frac{b}{a}}&=\large{\frac{f-b}{f}} \\ &=1-\large{\frac{b}{f}} \hspace{18pt} (หารด้วย \;b\; ทั้งสองข้าง)\\ \therefore \hspace{12pt}\large{\frac{1}{a}}&=\large{\frac{1}{b}}-\large{\frac{1}{f}} \\ \therefore \hspace{12pt}\large{\frac{1}{a}}&-\large{\frac{1}{b}}=-\large{\frac{1}{f}}\hspace{12pt} \cdot\cdot\cdot\cdot\cdot\cdot ② \end{align}

ในสมการนี้ เนื่องจาก \(f>0\) ดังนั้น ฝั่งขวาของสมการเป็นลบ นั่นคือ ฝั่งซ้ายก็เป็นลบด้วย จึงได้ว่า

\begin{align} \hspace{18pt}\large{\frac{1}{a}}&-\large{\frac{1}{b}}\lt 0 \\ \therefore \hspace{12pt}\large{\frac{1}{a}}&\lt \large{\frac{1}{b}}\hspace{18pt} (เนื่องจาก \;b\; มากกว่า\; 0)\\ \therefore \hspace{12pt}\large{\frac{b}{a}}&\lt \large{1} \end{align}

เนื่องจาก \(m = \large{\frac{b}{a}}\) นั่นคือ \(m\lt 1\) พูดอีกอย่างก็คือ กำลังขยายน้อยกว่า 1.0 เสมอนั่นเองครับ ภาพที่เกิดจากเลนส์เว้าจะถูกย่อส่วนลงเสมอครับ ไม่สามารถใช้เป็นแว่นขยายได้ครับ

สำหรับกรณีของเลนส์เว้านั้น ไม่ว่าจะวางวัตถุไว้ใกล้กว่าจุดโฟกัสหรือไกลกว่าจุดโฟกัสออกไปก็ตาม จะเกิดภาพเสมือนหัวตั้ง (BB’) ขึ้นครับ (เมื่อเปรียบเทียบกับเลนส์นูนของหัวข้อที่แล้ว เรียบง่ายกว่าครับ)



สรุปสูตรของเลนส์

สูตรของเลนส์นูนและสูตรของเลนส์เว้าสามารถสรุปรวมกันได้

สำหรับเลนส์นูนในหัวข้อที่แล้ว แม้ว่าเราจะสามารถรวมสมการ \(②\) และสมการ \(④\) เข้าเป็นสมการ \(⑤\) ได้ครับ แต่มากไปกว่านั้น สมการ \(⑤\) นี้ยังสามารถผสานรวมกับสมการ \(②\) ของบทนี้ด้วยครับ เราสามารถมองว่า “การกำหนดให้ \(b\) และ \(f\) ในสมการ \(⑤\) มีค่าเป็นลบ คือสมการ \(②\) ของบทนี้ครับ ”

คือการรวมสามรูปแบบดังต่อไปนี้(ซึ่งนิยามให้ \({\color{blue}b}\) และ \({\color{blue}f}\) มีค่าเป็นบวกเท่านั้น) เข้าด้วยกันครับ

\(\hspace{12pt}\large{\frac{1}{a}}+\large{\frac{1}{{\color{blue}b}}}=\large{\frac{1}{{\color{blue}f}}}\hspace{18pt}\cdot\cdot\cdot\cdot\cdot\cdot ②\) ของหัวข้อที่แล้ว\(\hspace{6pt}\)เลนส์นูน ไกลกว่าจุดโฟกัส

\(\hspace{12pt}\large{\frac{1}{a}}- \large{\frac{1}{{\color{blue}b}}}=\large{\frac{1}{{\color{blue}f}}}\hspace{18pt}\cdot\cdot\cdot\cdot\cdot\cdot ④\) ของหัวข้อที่แล้ว\(\hspace{6pt}\)เลนส์นูน ใกล้กว่าจุดโฟกัส

\(\hspace{12pt}\large{\frac{1}{a}}- \large{\frac{1}{{\color{blue}b}}}= -\large{\frac{1}{{\color{blue}f}}}\hspace{12pt}\cdot\cdot\cdot\cdot\cdot\cdot ②\) ของหัวข้อนี้\(\hspace{6pt}\)เลนส์เว้า


สูตรของเลนส์ (สูตรการเกิดภาพ)

 \(\boldsymbol{\large{\frac{1}{a}}+\large{\frac{1}{b}}=\large{\frac{1}{f}}}\)

 กำลังขยาย \(:\boldsymbol{m=\large{\frac{|b|}{a}}}\)

 ระยะจากวัตถุถึงเลนส์ \(:a\) : เป็นบวกเสมอ
 ระยะจากเลนส์ถึงภาพ \(:b\) : ด้านหลังเลนส์เป็นบวก ด้านหน้าเลนส์เป็นลบ
      ระยะโฟกัส \(:f\) : เลนส์นูนเป็นบวก เลนส์เว้าเป็นลบ

(##(ดูโจทย์วัตถุเสมือนแล้ว เขียนให้ดี) “ด้านหลังเลนส์” หมายถึง ด้านตรงข้ามของเลนส์หากมองจากวัตถุ “ด้านหน้าเลนส์” หมายถึงฝั่งเดียวกับที่มองจากวัตถุ)


ลองสรุปใส่ตารางดูครับ

เลนส์นูน เลนส์เว้า
บวกลบของ \(f\) ให้ \(f\gt 0\) ให้ \(f\lt 0\)
ตำแหน่งของวัตถุ \(a\) ไกลกว่าจุดโฟกัส \(a\gt f\) ใกล้กว่าจุดโฟกัส \(a\lt f\) ตำแหน่งสัมพัทธ์กับจุดโฟกัสไม่สำคัญ
\(a\) และ \(2f\) \(a\gt 2f\) \(a=2f\) \(a\lt 2f\)
\(a\) และ \(b\) \(a\gt b\) \(a=b\) \(a\lt b\) \(a\lt |b|\) \(a\gt |b|\)
กำลังขยาย \(m\) \(m\lt 1\) \(m=1\) \(m\gt 1\) \(m\gt 1\) \(m\lt 1\)
ตำแหน่งของภาพ \(b\) ด้านหลังเลนส์ กำหนดให้ \(b\gt 0\) ด้านหน้าเลนส์ กำหนดให้ \(b\lt 0\) ด่านหน้าเลนส์ กำหนดให้ \(b\lt 0\)
ชนิดของภาพ หัวกลับ _ ภาพจริง ใหญ่ขึ้น_ หัวตั้ง _ ภาพเสมือน เล็กลง _ หัวตั้ง _ ภาพเสมือน

ความคิดเห็น