บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2020
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ ห้องเรียนฟิสิกส์มัธยมปลายฉบับเข้าใจง่าย เว็บไซต์นี้ เป็นเว็บที่อธิบายเกี่ยวกับฟิสิกส์ที่เรียนกันในระดับมัธยมปลายครับ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อคนที่อ่อนฟิสิกส์และคนที่กำลังจะเริ่มเรียนฟิสิกส์ต่อจากนี้ไปครับ เลยจัดทำ『ろっとん』(Rotton)ขึ้นมาครับ แม้ว่าตอนนี้ตัวผม 『ろっとん』 จะทำงานที่ไม่ได้เกี่ยวกับฟิสิกส์อยู่ก็ตาม แต่ตอนสมัยเป็นนักเรียน เคยเรียนฟิสิกส์และเคยคิดว่า "ไม่มีตำราเรียนที่เข้าใจง่ายกว่านี้แล้วหรอ ไม่มีการสอนในชั้นเรียนที่เข้าใจง่ายกว่านี้หรอ " ครับ ตอนนี้พอมองย้อนกลับไปแล้ว ผมคิดว่าเหตุผลที่ฟิสิกส์ยากนั้น เป็นเพราะว่าคำอธิบายในหนังสือเรียนน้อยเกินไปบ้าง สั้นเกินไปบ้าง เวลาในชั้นเรียนสั้นเกินไปบ้าง หากว่าค่อย ๆ ใช้เวลาอธิบายอย่างปราณีต สอนแบบละเอียด ๆ แล้ว ไม่ใช่เรื่องยากอะไรอย่างแน่นอนครับ นอกจากนั้น ผมยังคิดว่าเป็นสาขาวิชาที่เมื่อเข้าใจแล้วสนุกอีกด้วยครับ ผมจัดทำเว็บนี้ขึ้นมาด้วยความคิดแบบนี้ครับ อาจจะมีจุดที่อ่านแล้วรู้สึกว่าคำอธิบายยาวเกินไป เวิ่นเว้อ ซ้ำซ้อนนะครับ แต่ว่าขอให้อย่าไปใส่ใจ และอ่านต่อไปนะครับ หากว่าเว็บนี้สามารถเป็นตัวช่วยหนึ่

เกี่ยวกับเว็บนี้ (ผู้แปล hakkobun)

สวัสดีครับ เว็บบล็อกนี้เป็นเว็บบล็อกที่แปล https://wakariyasui.sakura.ne.jp 『わかりやすい高校物理の部屋』 มาเป็นภาษาไทยครับ ชื่อเว็บในภาษาญี่ปุ่นแปลว่า "ห้องฟิสิกส์มัธยมปลายแบบเข้าใจง่าย" ครับ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับคนที่อ่อนฟิสิกส์ คนที่อยากจะเข้าใจฟิสิกส์มากขึ้นครับ ข้อดีของเว็บนี้ ที่ไม่เหมือนเว็บอื่น ๆ มีการตั้งคำถาม สอนหลักคิด และคำอธิบายที่มากพอ ละเอียด มีเหตุผล และสอนแบบใส่ใจ มีภาพและ gif ที่แปลกใหม่ ไม่เหมือนกับในตำราเรียน ช่วยให้เห็นภาพง่ายขึ้น (คุณ rotton ทำเองทั้งหมด) มีการเชื่อมโยง บูรณาการ โดยใช้หลักฟิสิกส์จากบทก่อน ๆ ที่ดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้องกันแต่กลับสามารถนำมาใช้อธิบายเรื่องใหม่ที่กำลังเรียนได้ ! ทำให้เห็นว่าฟิสิกส์เชื่อมต่อกันเป็นเรื่องเดียวได้ โดยมีลิงค์เชื่อม (เช่น การเชื่อมโยงระหว่างหลักการของการทดลองแทรกสอดของยัง (แปลแล้ว) และ รูปแบบมัวเร (ยังไม่ได้แปล) ) มีการอธิบายวิธีการทำการทดลองแบบละเอียด ว่าต้องใช้อุปกรณ์อะไร ทำอย่างไร ควรระวังที่จุดใด และจะเกิดปัญหาทางปฏิบัติอย่างไร ทำให้ฟิสิกส์ไม่ได้เป็นเพียงทฤษฏีในหน้ากระดาษเพียงอย่างเดียว และยังทำให้ผู้ที่