บทความ

test_scr

รูปภาพ
コンプトン効果 ■わかりやすい高校物理の部屋■ コンプトン効果 ← □ → コンプトン効果 コンプトン効果とは X線を物質に当てると散乱しますが、散乱X線の中には入射X線より波長の長いものが含まれます。この現象を コンプトン効果 といいます * 1892年-1962年のアメリカの物理学者、アーサー・コンプトンが発見しました。 コンプトン効果による散乱をコンプトン散乱といいます。 散乱X線の中に入射X線より波長の短いX線が含まれることもあり、逆コンプトン効果といわれます。高校物理では扱いません。 閉じる 。X線が純粋な波動であれば入射X線と散乱X線の波長は同じになるはずですが、そうでないのはX線が粒子性を持ち、衝突後のX線のエネルギーが減る(=振動数が小さくなる=波長が大きくなる * 下記のエネルギーの式   \(E\) = \(hν\) = \(\large{\frac{hc}{λ}}\) において E が小さくなるということは \(ν\) が小さくなって \(λ\) が大きくなるということです。 h と c は定数です。 閉じる )ためと考えられます。 光子のエネルギーと運動量 コンプトンはX線が光子という粒子の流れであり、運動の前後で エネルギー保存の法則 と 運動量保存の法則 が成り立つと考えました。 光子1個のエネルギーを E [J]、 プランク定数 を h [J⋅s]、振動数を \(ν\) [Hz]、波長を λ [m]、光速を c [m/s] とすると、光子のエネルギーは 光量子仮説 より      E = \(hν\) = \(\large{\frac{hc}{λ}}\) です。 光子1個の運動量については、上式に相対性理論の式 E = mc 2 を代入して、      mc 2 = \(hν\) 両辺を c で割って、  ∴   mc = \(\large{\frac{hν}{c}}\) 左辺は質量×速度になっているからこれは 運動量 であり、これを p とすると、 光子1個の運動量   p = \(\large{\frac{hν}{c}}\) = \(\large
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ ห้องเรียนฟิสิกส์มัธยมปลายฉบับเข้าใจง่าย เว็บไซต์นี้ เป็นเว็บที่อธิบายเกี่ยวกับฟิสิกส์ที่เรียนกันในระดับมัธยมปลายครับ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อคนที่อ่อนฟิสิกส์และคนที่กำลังจะเริ่มเรียนฟิสิกส์ต่อจากนี้ไปครับ เลยจัดทำ『ろっとん』(Rotton)ขึ้นมาครับ แม้ว่าตอนนี้ตัวผม 『ろっとん』 จะทำงานที่ไม่ได้เกี่ยวกับฟิสิกส์อยู่ก็ตาม แต่ตอนสมัยเป็นนักเรียน เคยเรียนฟิสิกส์และเคยคิดว่า "ไม่มีตำราเรียนที่เข้าใจง่ายกว่านี้แล้วหรอ ไม่มีการสอนในชั้นเรียนที่เข้าใจง่ายกว่านี้หรอ " ครับ ตอนนี้พอมองย้อนกลับไปแล้ว ผมคิดว่าเหตุผลที่ฟิสิกส์ยากนั้น เป็นเพราะว่าคำอธิบายในหนังสือเรียนน้อยเกินไปบ้าง สั้นเกินไปบ้าง เวลาในชั้นเรียนสั้นเกินไปบ้าง หากว่าค่อย ๆ ใช้เวลาอธิบายอย่างปราณีต สอนแบบละเอียด ๆ แล้ว ไม่ใช่เรื่องยากอะไรอย่างแน่นอนครับ นอกจากนั้น ผมยังคิดว่าเป็นสาขาวิชาที่เมื่อเข้าใจแล้วสนุกอีกด้วยครับ ผมจัดทำเว็บนี้ขึ้นมาด้วยความคิดแบบนี้ครับ อาจจะมีจุดที่อ่านแล้วรู้สึกว่าคำอธิบายยาวเกินไป เวิ่นเว้อ ซ้ำซ้อนนะครับ แต่ว่าขอให้อย่าไปใส่ใจ และอ่านต่อไปนะครับ หากว่าเว็บนี้สามารถเป็นตัวช่วยหนึ่

เกี่ยวกับเว็บนี้ (ผู้แปล hakkobun)

สวัสดีครับ เว็บบล็อกนี้เป็นเว็บบล็อกที่แปล https://wakariyasui.sakura.ne.jp 『わかりやすい高校物理の部屋』 มาเป็นภาษาไทยครับ ชื่อเว็บในภาษาญี่ปุ่นแปลว่า "ห้องฟิสิกส์มัธยมปลายแบบเข้าใจง่าย" ครับ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับคนที่อ่อนฟิสิกส์ คนที่อยากจะเข้าใจฟิสิกส์มากขึ้นครับ ข้อดีของเว็บนี้ ที่ไม่เหมือนเว็บอื่น ๆ มีการตั้งคำถาม สอนหลักคิด และคำอธิบายที่มากพอ ละเอียด มีเหตุผล และสอนแบบใส่ใจ มีภาพและ gif ที่แปลกใหม่ ไม่เหมือนกับในตำราเรียน ช่วยให้เห็นภาพง่ายขึ้น (คุณ rotton ทำเองทั้งหมด) มีการเชื่อมโยง บูรณาการ โดยใช้หลักฟิสิกส์จากบทก่อน ๆ ที่ดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้องกันแต่กลับสามารถนำมาใช้อธิบายเรื่องใหม่ที่กำลังเรียนได้ ! ทำให้เห็นว่าฟิสิกส์เชื่อมต่อกันเป็นเรื่องเดียวได้ โดยมีลิงค์เชื่อม (เช่น การเชื่อมโยงระหว่างหลักการของการทดลองแทรกสอดของยัง (แปลแล้ว) และ รูปแบบมัวเร (ยังไม่ได้แปล) ) มีการอธิบายวิธีการทำการทดลองแบบละเอียด ว่าต้องใช้อุปกรณ์อะไร ทำอย่างไร ควรระวังที่จุดใด และจะเกิดปัญหาทางปฏิบัติอย่างไร ทำให้ฟิสิกส์ไม่ได้เป็นเพียงทฤษฏีในหน้ากระดาษเพียงอย่างเดียว และยังทำให้ผู้ที่

[สารบัญ] คลื่น

คลื่น คลื่น   คลื่นไซน์   เฟส   คลื่นตามขวาง   คลื่นตามยาว   หลักการพื้นฐานของคลื่น หลักการซ้อนทับของคลื่น   หลักการของฮอยเกนส์   กฎต่าง ๆ ของคลื่น ปลายตรึง・ปลายอิสระ   คลื่นนิ่ง   การแทรกสอดของคลื่น   การเลี้ยวเบนของคลื่น   การสะท้อนของคลื่น   การหักเหของคลื่น   คลื่นเสียง คลื่นเสียง   การสะท้อน・หักเห・เลี้ยวเบน・แทรกสอดของคลื่นเสียง   คลื่นแสง คลื่นแสง   การวัดความเร็วของแสง   การสะท้อนของแสง   การหักเหของแสง   การสะท้อนกลับหมด   การสะท้อนกลับหมด (เสริม)   การกระเจิง ・การกระจายของแสง   รุ้ง   การสั่นอย่างอิสระ Natural Vibration การสั่นของเส้นเชือก   คลื่นในท่ออากาศ   การสั่นพ้อง・การกำทอน   ปรากฏการณ์ดอปเปลอร์ ปรากฏการณ์ดอปเปลอร์ 1   ปรากฎการณ์ดอปเปลอร์ 2   ปรากฏการณ์ดอปเปลอร์ 3   บีตส์ บีตส์   บีตส์ (เสริม)   ลายมัวเร   การแทรกสอดของแสง การทดลองการแทรกสอดของแสงโดยวิธีของยัง   เกรตติ้งเลี้ยวเบน   สลิตเดี่ยว   การแทรกสอดผ่านฟิล์มบาง   การแทรกสอดผ่านฟิล์มบาง (เสริม)   การแทรกสอดของแสงผ่านชั้นอากาศรูปลิ่ม   วงแหวนนิวตัน   แสงเชิงเรขาคณิต แสงที่ผ่

คลื่นแสง

รูปภาพ
คลื่นแสง คลื่นแสง = คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นแสง (= แสง) เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่งครับ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คือ คลื่นซึ่งเคลื่อนที่ในสนามแม่เหล็กไฟฟ้าอันเกิดจากผลของไฟฟ้าและแม่เหล็กครับ คำว่า "แสง" นี้สามารถหมายถึงแสงในช่วงที่มองเห็นได้เท่านั้น หรืออาจหมายรวมถึงแสงอินฟราเรด, แสงในช่วงที่มองเห็นได้, และแสงอัลตราไวโอเลต ทั้ง 3 อย่างก็ได้ครับ นอกจากนี้อาจรวมถึงรังสีเอกซ์และรังสีแกมม่าที่มีความยาวคลื่นสั้นลงไปอีกก็ได้ครับ ผมไม่คิดว่ามีคำจำกัดความที่ชัดเจนครับ ความเร็วแสง ความเร็วของคลื่นแสง (คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า) ในสุญญากาศ ( ความเร็วแสง ) คือ \(c\) = 299 792 458 m/s ครับ * \(c\) นี้มาจากคำว่า celeritas (ความเร็ว) ในภาษาลาติน เวลาที่จะเน้นว่าในสุญญากาศจะไม่เขียนว่า \(c\) แต่จะเขียนว่า \(c_0\) ครับ ค่านี้แตกต่างจากค่า \(π\hspace{6pt} 3.141592\cdot\cdot\cdot\) ซึ่งไม่มีที่สิ้นสุดครับ เพราะจบเพียงแค่ 9 หลักครับ ปิด ตัวเลข 9 หลักนี้ไม่ใช่ค่าที่วัดได้ แ

การวัดความเร็วแสง

รูปภาพ
การวัดความเร็วแสง ความเร็วที่แสงเดินทางมีขนาดจำกัด ในชีวิตประจำวัน เราทั้งไม่ตระหนักรับรู้ถึงความเร็วที่แสงเดินทาง ( ความเร็วแสง ) และ ไม่ว่าไกลเท่าใด แสงก็เดินทางไปถึงทันที พูดอีกอย่างก็คือ เรารู้สึกไปเองราวกับว่าความเร็วแสงมีค่าอนันต์ครับ แต่ว่ากันว่านักวิทยาศาสตร์ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 เริ่มตระหนักเห็นว่าความเร็วแสงนั้นมีขนาดจำกัดครับ นักวิทยาศาสตร์หลายคนเช่น กาลิโลโอ กาลิเลอี, เลมา, บรัดลีย์ , ฟีโซ, ฟูโค ( qGARA ), ไมเคลสัน กับคณะ ได้ทดลองวัดความเร็วแสงครับ ในบรรดาการทดลองเหล่านั้น การทดลองของฟีโซนั้นถูกกล่าวถึงในตำราเรียน(ฟิสิกส์ญี่ปุ่น) ทุก ๆ เล่ม ดังนั้นจะอธิบายไว้ล่วงหน้า ณ ที่นี้ครับ การคำนวนของเลมา ก่อนอื่น จะแตะ ๆ เกี่ยวกับการคำนวนของเลมาก่อนครับ ว่ากันว่า คนแรกที่ระบุค่าความเร็วของแสงในโลกคือ เลมา * โอเลอ คริสเทนเซิน เรอเมอร์, นักดาราศาสตร์ชาวเดนมาร์กของศตวรรษที่ 17 ได้ใช้ข้อมูลการสังเกตของ จิโอวานนิ แคสซีนี นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี คำนวณหาความเร็วแสง ปิด ครับ

การสะท้อนของแสง

รูปภาพ
การสะท้อนของแสง กฏการสะท้อน เช่นเดียวกับเสียงและคลื่นชนิดอื่น กฏการสะท้อน ที่ว่า มุมตกกระทบ = มุมสะท้อน ก็เป็นจริงสำหรับแสงเช่นกันครับ การหมุนของกระจกเงาราบ ถ้าหมุนเอียงกระจกเงาราบไปดังในรูปด้านซ้าย รังสีสะท้อนจะเอียงออกไปมากกว่ามุมที่หมุนกระจกนั้นไปครับ มุมที่รังสีสะท้อนบิดไป เท่ากับ 2 เท่าของมุมที่หมุนกระจกเงาราบไปครับ ภาพที่เกิดจากกระจก เรียกภาพที่เกิดจากกระจกว่า ภาพเสมือน ครับ เราจะรู้สึกราวกับว่าภาพเสมือนนั้นอยู่ที่ตำแหน่งสมมาตรเมื่อเทียบกับแกนกระจกเงาราบครับ

การกระเจิง・การกระจายของแสง

รูปภาพ
การกระเจิงของแสง ถ้าหากมีวัตถุกีดขวางอยู่ในเส้นทางเดินของแสงแล้ว แสงที่มีความยาวคลื่นสั้น ( สีม่วง ) จะสะท้อนกลับ แต่แสงที่มีความยาวคลื่นยาว( สีแดง ) จะเดินทางผ่านไปได้ครับ แสงที่มีความยาวคลื่นปานกลาง( สีฟ้า ) จะสะท้อนออกไปในทิศทางต่าง ๆ ครับ เรียกสิ่งนี้ว่า การกระเจิงของแสง ครับ (ในความเป็นจริงแล้วไม่ได้ง่ายแบบนี้ครับ สำหรับรายละเอียด ลองสืบค้นด้วยคำว่า 「การกระเจิงแบบเรเลห์ (Rayleigh scattering)」ดูนะครับ) แสงจากดวงอาทิตย์มีทั้งแสงที่มีความยาวคลื่นยาวและแสงที่มีความยาวคลื่นสั้นปนกันอยู่ครับ แสงสีแดงและแสงสีส้มที่มีความยาวคลื่นสัมพัทธ์ยาวกว่า จะเดินทางผ่านชั้นบรรยากาศไปตรง ๆ ครับ แสงสีน้ำเงินและม่วงที่มีความยาวคลื่นสัมพัทธ์สั้นกว่า จะเกิดการกระเจิงออกเพราะโมเลกุลของไนโตรเจนและออกซิเจนในชั้นบรรยากาศครับ ช่วงตอนเย็นของฮาวาย จะตรงกับช่วงกลางวันที่ประเทศญี่ปุ่นครับ แสงสีแดงจะเดินทางไปถึงผู้คนซึ่งกำลังดูพระอาทิตย์ตกที่ฮาวายอยู่มาก แสงสีน้ำเงินจะเดินทางไปถึงผู้คนที่ประเทศญี่ปุ่นอยู่มาก เพราะว่าสำหรับแสงอาทิตย์ที่มุ่งไปยังฮาวายชั้นบรรยากาศจะหนา ส

รุ้ง

รูปภาพ
รุ้ง หลังจากที่ฝนหยุดตกใหม่ ๆ หากว่าเรามองไปทางทิศตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ (ถ้าพระอาทิตย์อยู่ทางทิศตะวันตก: ท้องฟ้าซีกตะวันออก) เราจะสามารถเห็นรุ้งได้ครับ * ถ้าวาดให้ถูกต้องแม่นยำมากขึ้นอีกนิด จะได้ตำแหน่งความสัมพันธ์แบบในรูปด้านล่างนี้ครับ เส้นเชื่อมระหว่างดวงอาทิตย์กับมนุษย์จะผ่านจุดศูนย์กลางของรุ้งครับ ดังนั้นเวลาที่จะมองเห็นรุ้งคือตอนเช้าหรือตอนเย็นครับ ตอนบ่าย 2 จะมองไม่เห็นรุ้งครับ ! ถ้าขึ้นไปบนตึกระฟ้า อาจจะมองเห็นรุ้งที่เต็มวงนะครับ หรือไม่ก็มองจากเครื่องบิน... ความจริง หากว่าใช้เครื่องพ่นละอองน้ำเก่ง ๆ ก็สามารถมองเห็นรุ้งทุกเมื่อเช่นกันครับ สำหรับรุ้งที่มองเห็นตอนเที่ยงวันเหนือศีรษะที่พบเห็นได้น้อยครั้งมาก ๆ นั้น จะมีความสัมพันธ์ของตำแหน่งดังรูปด้านล่างนี้ครับ ปิด รุ้งคือสิ่งที่เกิดจากการหักเห, การกระจาย , และการสะท้อนของรังสีแสงอาทิตย์ ในละอองหมอกครับ ที่ที่มีสายรุ้งนั้นมีเพียงแค่ละอองหมอกเท่านั้นครับ ตา

การทดลองการแทรกสอดของแสงโดยวิธีของยัง

รูปภาพ
การทดลองการแทรกสอดของแสงโดยวิธีของยัง ปรากฏการณ์การแทรกสอดของคลื่น##linkนั้นมีรูปแบบต่าง ๆ มากมาย เช่นการแทรกสอดของคลื่นผิวน้ำหรือ หรือการแทรกสอดของคลื่นเสียง##linkเป็นต้นครับ ในบทความนี้จะทำการอธิบายเกี่ยวกับการแทรกสอดของคลื่นแสง##link(โดยเฉพาะรังสีแสงช่วงที่มองเห็นได้)ที่มาจากแหล่งกำเนิดสองจุดครับ เมื่อคลื่นแสงลูกหนึ่งกับคลื่นแสงอีกลูกหนึ่งปะทะกันแล้ว จะแทรกสอดแบบเสริมกันหรือหักล้างกันนั้น สามารถตรวจสอบด้วยฉากได้ครับ จุดที่แทรกสอดแบบเสริมกันจะสว่างขึ้น จุดที่แทรกสอดแบบหักล้างกันจะมืดลงครับ บนฉากรับนั้นจุดมืดและจุดสว่างเหล่านี้จะปรากฏสลับไปสลับมา ทำให้เกิดเป็นริ้วขึ้นได้ เรียกว่า ริ้วการแทรกสอด ครับ การทดลองการแทรกสอดของแสงโดยวิธีของยัง การวางแผนเตรียมการของยัง แม้ว่าในการแทรกสอดของคลื่นผิวน้ำหรือคลื่นเสียง การสร้างคลื่นที่มีความยาวคลื่นเท่ากันและเฟส##linkตรงกันจากแหล่งกำเนิดสองแหล่งจะเป็นเรื่องที่ง่าย แต่สำหรับคลื่นแสงแล้ว นี่ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยครับ ความยาวของคลื่นแสง (ในช่วงที่ตามองเห็น) นั้นเป็นสิ่งที่เล็กมากๆ แต่เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว หลอดไฟที่เป็นแหล่งกำเน