บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2019

คลื่นแสง

รูปภาพ
คลื่นแสง คลื่นแสง = คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นแสง (= แสง) เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่งครับ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คือ คลื่นซึ่งเคลื่อนที่ในสนามแม่เหล็กไฟฟ้าอันเกิดจากผลของไฟฟ้าและแม่เหล็กครับ คำว่า "แสง" นี้สามารถหมายถึงแสงในช่วงที่มองเห็นได้เท่านั้น หรืออาจหมายรวมถึงแสงอินฟราเรด, แสงในช่วงที่มองเห็นได้, และแสงอัลตราไวโอเลต ทั้ง 3 อย่างก็ได้ครับ นอกจากนี้อาจรวมถึงรังสีเอกซ์และรังสีแกมม่าที่มีความยาวคลื่นสั้นลงไปอีกก็ได้ครับ ผมไม่คิดว่ามีคำจำกัดความที่ชัดเจนครับ ความเร็วแสง ความเร็วของคลื่นแสง (คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า) ในสุญญากาศ ( ความเร็วแสง ) คือ \(c\) = 299 792 458 m/s ครับ * \(c\) นี้มาจากคำว่า celeritas (ความเร็ว) ในภาษาลาติน เวลาที่จะเน้นว่าในสุญญากาศจะไม่เขียนว่า \(c\) แต่จะเขียนว่า \(c_0\) ครับ ค่านี้แตกต่างจากค่า \(π\hspace{6pt} 3.141592\cdot\cdot\cdot\) ซึ่งไม่มีที่สิ้นสุดครับ เพราะจบเพียงแค่ 9 หลักครับ ปิด ตัวเลข 9 หลักนี้ไม่ใช่ค่าที่วัดได้ แ

การวัดความเร็วแสง

รูปภาพ
การวัดความเร็วแสง ความเร็วที่แสงเดินทางมีขนาดจำกัด ในชีวิตประจำวัน เราทั้งไม่ตระหนักรับรู้ถึงความเร็วที่แสงเดินทาง ( ความเร็วแสง ) และ ไม่ว่าไกลเท่าใด แสงก็เดินทางไปถึงทันที พูดอีกอย่างก็คือ เรารู้สึกไปเองราวกับว่าความเร็วแสงมีค่าอนันต์ครับ แต่ว่ากันว่านักวิทยาศาสตร์ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 เริ่มตระหนักเห็นว่าความเร็วแสงนั้นมีขนาดจำกัดครับ นักวิทยาศาสตร์หลายคนเช่น กาลิโลโอ กาลิเลอี, เลมา, บรัดลีย์ , ฟีโซ, ฟูโค ( qGARA ), ไมเคลสัน กับคณะ ได้ทดลองวัดความเร็วแสงครับ ในบรรดาการทดลองเหล่านั้น การทดลองของฟีโซนั้นถูกกล่าวถึงในตำราเรียน(ฟิสิกส์ญี่ปุ่น) ทุก ๆ เล่ม ดังนั้นจะอธิบายไว้ล่วงหน้า ณ ที่นี้ครับ การคำนวนของเลมา ก่อนอื่น จะแตะ ๆ เกี่ยวกับการคำนวนของเลมาก่อนครับ ว่ากันว่า คนแรกที่ระบุค่าความเร็วของแสงในโลกคือ เลมา * โอเลอ คริสเทนเซิน เรอเมอร์, นักดาราศาสตร์ชาวเดนมาร์กของศตวรรษที่ 17 ได้ใช้ข้อมูลการสังเกตของ จิโอวานนิ แคสซีนี นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี คำนวณหาความเร็วแสง ปิด ครับ

การสะท้อนของแสง

รูปภาพ
การสะท้อนของแสง กฏการสะท้อน เช่นเดียวกับเสียงและคลื่นชนิดอื่น กฏการสะท้อน ที่ว่า มุมตกกระทบ = มุมสะท้อน ก็เป็นจริงสำหรับแสงเช่นกันครับ การหมุนของกระจกเงาราบ ถ้าหมุนเอียงกระจกเงาราบไปดังในรูปด้านซ้าย รังสีสะท้อนจะเอียงออกไปมากกว่ามุมที่หมุนกระจกนั้นไปครับ มุมที่รังสีสะท้อนบิดไป เท่ากับ 2 เท่าของมุมที่หมุนกระจกเงาราบไปครับ ภาพที่เกิดจากกระจก เรียกภาพที่เกิดจากกระจกว่า ภาพเสมือน ครับ เราจะรู้สึกราวกับว่าภาพเสมือนนั้นอยู่ที่ตำแหน่งสมมาตรเมื่อเทียบกับแกนกระจกเงาราบครับ

การกระเจิง・การกระจายของแสง

รูปภาพ
การกระเจิงของแสง ถ้าหากมีวัตถุกีดขวางอยู่ในเส้นทางเดินของแสงแล้ว แสงที่มีความยาวคลื่นสั้น ( สีม่วง ) จะสะท้อนกลับ แต่แสงที่มีความยาวคลื่นยาว( สีแดง ) จะเดินทางผ่านไปได้ครับ แสงที่มีความยาวคลื่นปานกลาง( สีฟ้า ) จะสะท้อนออกไปในทิศทางต่าง ๆ ครับ เรียกสิ่งนี้ว่า การกระเจิงของแสง ครับ (ในความเป็นจริงแล้วไม่ได้ง่ายแบบนี้ครับ สำหรับรายละเอียด ลองสืบค้นด้วยคำว่า 「การกระเจิงแบบเรเลห์ (Rayleigh scattering)」ดูนะครับ) แสงจากดวงอาทิตย์มีทั้งแสงที่มีความยาวคลื่นยาวและแสงที่มีความยาวคลื่นสั้นปนกันอยู่ครับ แสงสีแดงและแสงสีส้มที่มีความยาวคลื่นสัมพัทธ์ยาวกว่า จะเดินทางผ่านชั้นบรรยากาศไปตรง ๆ ครับ แสงสีน้ำเงินและม่วงที่มีความยาวคลื่นสัมพัทธ์สั้นกว่า จะเกิดการกระเจิงออกเพราะโมเลกุลของไนโตรเจนและออกซิเจนในชั้นบรรยากาศครับ ช่วงตอนเย็นของฮาวาย จะตรงกับช่วงกลางวันที่ประเทศญี่ปุ่นครับ แสงสีแดงจะเดินทางไปถึงผู้คนซึ่งกำลังดูพระอาทิตย์ตกที่ฮาวายอยู่มาก แสงสีน้ำเงินจะเดินทางไปถึงผู้คนที่ประเทศญี่ปุ่นอยู่มาก เพราะว่าสำหรับแสงอาทิตย์ที่มุ่งไปยังฮาวายชั้นบรรยากาศจะหนา ส

รุ้ง

รูปภาพ
รุ้ง หลังจากที่ฝนหยุดตกใหม่ ๆ หากว่าเรามองไปทางทิศตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ (ถ้าพระอาทิตย์อยู่ทางทิศตะวันตก: ท้องฟ้าซีกตะวันออก) เราจะสามารถเห็นรุ้งได้ครับ * ถ้าวาดให้ถูกต้องแม่นยำมากขึ้นอีกนิด จะได้ตำแหน่งความสัมพันธ์แบบในรูปด้านล่างนี้ครับ เส้นเชื่อมระหว่างดวงอาทิตย์กับมนุษย์จะผ่านจุดศูนย์กลางของรุ้งครับ ดังนั้นเวลาที่จะมองเห็นรุ้งคือตอนเช้าหรือตอนเย็นครับ ตอนบ่าย 2 จะมองไม่เห็นรุ้งครับ ! ถ้าขึ้นไปบนตึกระฟ้า อาจจะมองเห็นรุ้งที่เต็มวงนะครับ หรือไม่ก็มองจากเครื่องบิน... ความจริง หากว่าใช้เครื่องพ่นละอองน้ำเก่ง ๆ ก็สามารถมองเห็นรุ้งทุกเมื่อเช่นกันครับ สำหรับรุ้งที่มองเห็นตอนเที่ยงวันเหนือศีรษะที่พบเห็นได้น้อยครั้งมาก ๆ นั้น จะมีความสัมพันธ์ของตำแหน่งดังรูปด้านล่างนี้ครับ ปิด รุ้งคือสิ่งที่เกิดจากการหักเห, การกระจาย , และการสะท้อนของรังสีแสงอาทิตย์ ในละอองหมอกครับ ที่ที่มีสายรุ้งนั้นมีเพียงแค่ละอองหมอกเท่านั้นครับ ตา

การทดลองการแทรกสอดของแสงโดยวิธีของยัง

รูปภาพ
การทดลองการแทรกสอดของแสงโดยวิธีของยัง ปรากฏการณ์การแทรกสอดของคลื่น##linkนั้นมีรูปแบบต่าง ๆ มากมาย เช่นการแทรกสอดของคลื่นผิวน้ำหรือ หรือการแทรกสอดของคลื่นเสียง##linkเป็นต้นครับ ในบทความนี้จะทำการอธิบายเกี่ยวกับการแทรกสอดของคลื่นแสง##link(โดยเฉพาะรังสีแสงช่วงที่มองเห็นได้)ที่มาจากแหล่งกำเนิดสองจุดครับ เมื่อคลื่นแสงลูกหนึ่งกับคลื่นแสงอีกลูกหนึ่งปะทะกันแล้ว จะแทรกสอดแบบเสริมกันหรือหักล้างกันนั้น สามารถตรวจสอบด้วยฉากได้ครับ จุดที่แทรกสอดแบบเสริมกันจะสว่างขึ้น จุดที่แทรกสอดแบบหักล้างกันจะมืดลงครับ บนฉากรับนั้นจุดมืดและจุดสว่างเหล่านี้จะปรากฏสลับไปสลับมา ทำให้เกิดเป็นริ้วขึ้นได้ เรียกว่า ริ้วการแทรกสอด ครับ การทดลองการแทรกสอดของแสงโดยวิธีของยัง การวางแผนเตรียมการของยัง แม้ว่าในการแทรกสอดของคลื่นผิวน้ำหรือคลื่นเสียง การสร้างคลื่นที่มีความยาวคลื่นเท่ากันและเฟส##linkตรงกันจากแหล่งกำเนิดสองแหล่งจะเป็นเรื่องที่ง่าย แต่สำหรับคลื่นแสงแล้ว นี่ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยครับ ความยาวของคลื่นแสง (ในช่วงที่ตามองเห็น) นั้นเป็นสิ่งที่เล็กมากๆ แต่เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว หลอดไฟที่เป็นแหล่งกำเน

เกรตติ้งเลี้ยวเบน

รูปภาพ
เกรตติ้งเลี้ยวเบน การแทรกสอดของแสงที่เกิดจากเกรตติ้งเลี้ยวเบน เราเรียกแผ่นแก้วที่มีการขูดร่องที่ผิวด้วยอัตราส่วน \(\rm{100-1000}\) เส้นต่อ \(\rm{1\;cm}\) โดยที่แต่ละร่องมีระยะห่างเท่า ๆ กันว่า เกรตติ้งเลี้ยวเบน ครับ บริเวณที่เป็นร่องนั้น แสงจะกระเจิงและเดินทางผ่านไปยาก แต่บริเวณอื่น ๆ นอกจากร่องที่มีลักษณะราบเรียบแสงจะเดินทางผ่านไปได้ครับ * หากวาดเป็นภาพ จะสื่อได้ แบบนี้ หรือแบบนี้ครับ ปิด ในอีกมุมหนึ่ง สามารถพูดได้ว่าเกรตติ้งเลี้ยวเบนคือการเปลี่ยนจากสองสลิตใน การทดลองของยัง มาเป็นแบบหลายสลิต และทำให้ระยะห่างระหว่างสลิต \(d\) นั้นมีค่าน้อยลงครับ เรียกระยะห่าง \(d\) ในเกรตติ้งนี้ว่า lattice constant ครับ * หมายเหตุผู้แปล : ในตำราญี่ปุ่นจะเรียกระยะห่าง \(d\) ของเกรตติ้งเลี้ยวเบนนี้ว่า lattice constant นะครับ นอกจากในเรื่องของเกรตติ้งแล้ว คำว่า lattice constant ยังถูกใช้ในวิชาเคมีเรื่องพันธะไอออนิก เพื่อสื่อถึงระยะและมุมต่าง ๆ ในโครงสร้างของผลึกไอออนิกหนึ่งหน่วยครับ แล้วทำไมจึงเรียก \(d\) ซึ่งแทนระยะห่างระหว่างสลิตในเกรตติ้งว่า lattice constant? นั่นเป็นเพราะว่าที