กระจกนูน

ภาพที่กระจกนูนสร้าง

หาความสัมพันธ์ระหว่างทุกปริมาณ

จะลองคิดถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรเหล่านี้ เวลาที่รังสีแสงที่ออกจากวัตถุ สะท้อนที่กระจกนูน และเกิดเป็นภาพขึ้นดูครับ

ระยะจากวัตถุถึงกระจก \(:a\)
ระยะจากกระจกถึงภาพ \(:b\)
ระยะโฟกัส \(:f\)
รัศมีทรงกลม \(:R\)


รังสีแสงที่ใช้เป็นตัวแทน

แม้ว่าเราจะสามารถคิดถึงเส้นทางของรังสีแสงที่พุ่งออกจากวัตถุได้เป็นอนันต์แบบก็ตาม แต่ว่ารังสีที่เป็นตัวแทนคือ \(4\) เส้นด้านล่างนี้ครับ

\(\color{red}{①}\) รังสีแสงที่ขนานกับแกนแสงจะสะท้อนกลับและเดินทางไปราวกับออกมาจากจุดโฟกัส
\(\color{red}{②}\) รังสีแสงที่มุ่งไปยังจุดโฟกัสจะสะท้อนกลับและเดินทางขนานไปกับแกนแสง


\(\color{red}{③}\) รังสีแสงที่มุ่งไปยังจุดศูนย์กลางทรงกลมจะสะท้อนกลับและและเดินทางกลับเส้นทางเดิม
\(\color{red}{④}\) จากกฏการสะท้อน มุมตกกระทบ = มุมสะท้อน


จากนี้ จะใช้รังสีแสง 2 เส้นใด ๆ จากในบรรดา 4 เส้นนี้ในการคิดต่อไปครับ มีวิธีคิดมากมายครับ

ภาพที่กระจกนูนสร้าง

ในบรรดารังสีแสงที่เขียนไว้ด้านบนนั้น จะลองเอารังสี \(\color{red}{①}\) และ\(\color{red}{②}\) และสามเหลี่ยมที่เกิดจากรังสีทั้งสองนี้ มาพิจารณาดูครับ

กำหนดตัวแปรตามรูปซ้ายมือครับ


เนื่องจาก (สามารถมองว่า) \(\color{green}{\triangle {\rm AA'F}}\) คล้ายกับ \(\color{green}{\triangle {\rm PB''F}}\) ได้ ดังนั้น

  \({\rm\large{\frac{P B^{\prime \prime}}{A A^{\prime}}}=\large{\frac{P F}{A F}}}=\large{\frac{f}{a+f}}\)

และนอกจากนี้ เนื่องจาก PB" = BB' เมื่อแทนลงในสมการด้านบนจะได้

  \({\rm\large{\frac{B B'}{A A'}}}=\large{\frac{f}{a+f}}\hspace{12pt} \cdot\cdot\cdot\cdot\cdot\cdot ①\)


เนื่องจาก \(\color{orange}{\triangle {\rm PA''F}}\) คล้ายกับ \(\color{orange}{\triangle {\rm BB'F}}\) ดังนั้น

  \({\rm\large{\frac{B B'}{P A''}}=\large{\frac{B F}{P F}}}=\large{\frac{f-b}{f}}\)

และนอกจากนี้ เนื่องจาก PA" = AA' เมื่อแทนลงในสมการด้านบนจะได้

  \({\rm\large{\frac{B B'}{A A'}}}=\large{\frac{f-b}{f}}\hspace{12pt} \cdot\cdot\cdot\cdot\cdot\cdot ②\)


เนื่องจากสมการ \(①\) และสมการ \(②\) มีด้านซ้ายมือร่วมกัน ดังนั้น

\(\hspace{18pt}\large{\frac{f}{a+f}}=\large{\frac{f-b}{f}}\)

\(\therefore \hspace{12pt} f^{2}=(f-b)(a+f) \)

\(\therefore \hspace{12pt} f^{2}=af-ab+f^{2}-bf \)

\(\therefore \hspace{12pt} 0=a f-ab+0-bf \)

\(\therefore \hspace{12pt} bf - af = -ab \hspace{18pt}\) หารด้วย \(abf\) ทั้งสองข้าง

\(\therefore \hspace{12pt} \large{\frac{b f}{a b f}}-\large{\frac{a f}{a b f}}=-\large{\frac{a b}{a b f}}\)

\(\therefore \hspace{12pt} \large{\frac{1}{a}}-\large{\frac{1}{b}}=-\large{\frac{1}{f}} \hspace{12pt} \cdot\cdot\cdot\cdot\cdot\cdot ③\)

นี่คือสูตรการเกิดภาพของกระจกนูนครับ

ถ้าลองดูสมการนี้ดี ๆ จะเห็นว่า เมื่อ \(a → ∞\) (พจน์แรกของฝั่งซ้ายมือเป็น \(0\)) แล้ว \(b=f\) ครับ นอกจากนี้ ดังที่จะอธิบายต่อไปจากนี้ เนื่องจากกำลังขยายเท่ากับ \(\large{\frac{b}{a}}\) ในกรณีที่ \(a → ∞\) ก็จะประมาณ \(0\) ครับ ถ้าหากวางวัตถุไว้ไกลจากกระจกนูนมาก ๆ จะเกิดภาพขนาดเล็กมาก ๆ ใกล้ ๆ กับจุดโฟกัสนั่นเองครับ

กำลังขยาย

กำลังขยาย คือ อัตราส่วนที่บอกว่าวัตถุถูกขยายขึ้นเท่าไหร่ หดเล็กลงเท่าไหร่ พูดอีกอย่างก็คือ \({\rm\large{\frac{B B'}{A A'}}}\) ครับ กำหนดแทนด้วย \(m\) ไว้ก่อนครับ

ลองพิจารณาดู \({\triangle {\rm AA'P}}\) และ \({\triangle {\rm BB'P}}\)

จากกฏการสะท้อน \(α=β\)
เนื่องจากมุมตรงข้ามเท่ากัน \(β=γ\)
ดังนั้น \(α=γ\)
ดังนั้น \({\triangle {\rm AA'P}}\) คล้ายกับ \({\triangle {\rm BB'P}}\)
ที่เกิดจากรังสี \(\color{red}{④}\) ซึ่งเป็นหนึ่งในรังสีแสงที่ใช้เป็นตัวแทนดังที่ได้อธิบายไว้ ด้านบน ก็จะเห็นได้ชัดเลยว่า \(m={\rm\large{\frac{B B'}{A A'}}}=\large{\frac{b}{a}}\) ครับ


กำลังขยายของภาพ ก็คือ อัตราส่วนของระยะ(จากวัตถุและจากภาพ) จนถึงกระจกนั่นเองครับ

นอกจากนี้ สำหรับกรณีกระจกนูน กำลังขยายจะไม่มากไปกว่า \(1.0\) ครับ

BB' จะไม่ใหญ่กว่า AA' ครับ


เนื่องจากภาพจะถูกย่อส่วนลงเสมอ ดังนั้นกระจกนูนจึงไม่สามารถใช้เป็นแว่นขยายได้ครับ เลนส์เว้าก็เป็นเช่นเดียวกันครับ

ภาพเสมือนหัวตั้ง

เวลามองจากด้านหน้าของกระจก( สำหรับรูปด้านซ้ายคือด้านซ้ายมือของกระจก) มนุษย์จะรู้สึกในสมองราวกับภาพที่กระจกนูนสร้างขึ้นนั้น เกิดขึ้นที่ด้านหลัง (ด้านตรงข้าม) ของกระจกครับ พูดอีกอย่างก็คือภาพเสมือนครับ และยังไม่ใช่ภาพหัวกลับแต่เป็นภาพหัวตั้งครับ

สำหรับกระจกเว้านั้น ลักษณะการเกิดภาพเวลาที่วางวัตถุไว้ไกลกว่าจุดโฟกัส และ เวลาที่วางไว้ใกล้กว่าจุดโฟกัสจะแตกต่างกันครับ แต่ว่ากระจกนูนจะไม่มีความแตกต่างครับ ไม่ว่าจะวางไว้ใกล้หรือไกลก็จะเกิดภาพเสมือนหัวตั้งครับ


ระยะโฟกัสคือครึ่งหนึ่งของรัศมี

ต่อไป จะค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างระยะโฟกัสและและรัศมีดูครับ

ลองพิจารณาดูสามเหลี่ยมที่เกิดจากรังสีแสง \(\color{red}{③}\) ที่เป็นรังสีตัวแทน ตามที่ได้แสดงไว้ด้านบนครับ จะเห็นว่า เนื่องจาก \(\triangle {\rm AA’O}\) คล้ายกับ \(\triangle {\rm BB’O}\) ดังนั้น

  \({\rm\large{\frac{B B^{\prime}}{A A^{\prime}}}=\large{\frac{BO}{A O}}}=\large{\frac{R-b}{a+R}}\)


เมื่อรวมเข้ากับสูตรกำลังขยายที่อธิบายไว้ด้านบน

  \(m={\rm\large{\frac{B B^{\prime}}{A A^{\prime}}}}=\large{\frac{b}{a}}\)

จะได้ว่า

\(\hspace{18pt}\large{\frac{R-b}{a+R}}=\large{\frac{b}{a}}\)

\(\therefore \hspace{12pt} a R-a b=a b+b R \)

\(\therefore \hspace{12pt} a R-b R=2 a b \hspace{18pt}\) หารด้วย \(abR\) ทั้งสองข้าง

\(\therefore \hspace{12pt} \large{\frac{a R}{a b R}}-\large{\frac{b R}{a b R}}=\large{\frac{2ab}{a b R}}\)

\(\therefore \hspace{12pt} \large{\frac{1}{b}}-\large{\frac{1}{a}}=\large{\frac{2}{R}}\)

\(\therefore \hspace{12pt} \large{\frac{1}{a}}-\large{\frac{1}{b}}=-\large{\frac{2}{R}}\)

เมื่อลองเปรียบเทียบสูตรนี้เข้ากับสูตรการเกิดภาพสำหรับกระจกนูน \(③\) ที่ได้แสดงไว้ด้านบน

\(\large{\frac{1}{a}}-\large{\frac{1}{b}}=-\large{\frac{1}{f}}\)

ได้ว่า

\(\hspace{18pt}-\large{\frac{1}{f}}=-\large{\frac{2}{R}}\)

\(\therefore \hspace{12pt} f=\large{\frac{R}{2}}\)

นั่นคือระยะโฟกัสคือครึ่งหนึ่งของรัศมีครับ เหมือนกับกรณีของกระจกเว้าครับ


สรุปของกระจกนูน

หากกำหนดให้ \(b\) และ \(f\) มีค่าเป็นบวกได้เท่านั้น เราจะสามารถแสดงสมการการเกิดภาพสำหรับกระจกนูนได้ดังนี้ครับ

\(\large{\frac{1}{a}}-\large{\frac{1}{b}}=-\large{\frac{1}{f}}\)

กระจกนูนเกิดภาพเสมือนหัวตั้งเสมอ

\(m=\large{\frac{b}{a}} \lt 1\)






















←กระจกเว้าของบทที่แล้ว

กระจกนูนของบทนี้→


สรุปของกระจกเงาทรงกลม

สูตรของกระจกนูนและสูตรของกระจกเว้าสามารถสรุปรวมกันได้

ในทำนองเดียวกับที่สูตรของเลนส์นูนและสูตรของเลนส์เว้าสามารถสรุปรวมกันได้ สูตรของกระจกนูนและสูตรของกระจกเว้าก็สามารถสรุปรวมกันได้เช่นกันครับ

จะรวมสามรูปแบบดังต่อไปนี้ (ซึ่งนิยามให้ \({\color{blue}b}\) และ \({\color{blue}f}\) มีค่าเป็นบวกเท่านั้น) ให้เป็นหนึ่งเดียว โดยให้ กลายเป็นสมการที่ตัวแปร \(b\) และ \(f\) สามารถมีค่าเป็นลบได้ครับ

\(\hspace{12pt}\large{\frac{1}{a}}+\large{\frac{1}{{\color{blue}b}}}=\large{\frac{1}{{\color{blue}f}}}\hspace{18pt}\cdot\cdot\cdot\cdot\cdot\cdot \) สูตรกระจกเว้า เวลาที่ไกลกว่าจุดโฟกัส

\(\hspace{12pt}\large{\frac{1}{a}}- \large{\frac{1}{{\color{blue}b}}}=\large{\frac{1}{{\color{blue}f}}}\hspace{18pt}\cdot\cdot\cdot\cdot\cdot\cdot\) สูตรกระจกเว้า เวลาที่ใกล้กว่าจุดโฟกัส

\(\hspace{12pt}\large{\frac{1}{a}}- \large{\frac{1}{{\color{blue}b}}}= -\large{\frac{1}{{\color{blue}f}}}\hspace{12pt}\cdot\cdot\cdot\cdot\cdot\cdot\) สูตรของกระจกนูน


สูตรของกระจกเงาทรงกลม (สูตรการเกิดภาพ)

 \(\boldsymbol{\large{\frac{1}{a}}+\large{\frac{1}{b}}=\large{\frac{1}{f}}}\)

 กำลังขยาย \(:\boldsymbol{m=\large{\frac{|b|}{a}}}\)

 ระยะจากวัตถุถึงกระจกเงาทรงกลม \(:a\) : เป็นบวกเสมอ
 ระยะจากกระจกเงาทรงกลมถึงภาพ \(:b\) : ด้านหน้ากระจกเงาทรงกลมเป็นบวก ด้านหลังกระจกเงาทรงกลม (ด้านตรงข้าม) เป็นลบ
      ระยะโฟกัส \(:f\) : ด้านหน้ากระจกเงาทรงกลมเป็นบวก (กระจกเว้า) ด้านหลังกระจกเงาทรงกลมเป็นลบ (กระจกนูน)

จะสรุปรวมค่าบวกลบของปริมาณต่าง ๆ ในสูตรของกระจกเงาทรงกลมดูครับ

กระจกเว้า กระจกนูน
ตำแหน่งของวัตถุ \(a\) กำหนดให้เป็นบวก
ตำแหน่งสัมพัทธ์กับจุดโฟกัส \(a \gt f\) \(a \lt f\)
ตำแหน่งของภาพ \(b\) บวก ลบ ลบ
ชนิดของภาพ ภาพจริงหัวกลับ ภาพเสมือนหัวตั้ง ภาพเสมือนหัวตั้ง
ตำแหน่งของจุดโฟกัส \(f\) บวก ลบ

ดูเทียบกับสูตรของเลนส์

ลองดูสูตรของกระจกเงาทรงกลมเทียบกับสูตรของเลนส์ดูนะครับ เกือบจะเหมือนกันทุกประการเลยครับ

สูตรของเลนส์ (สูตรการเกิดภาพ)

 \(\boldsymbol{\large{\frac{1}{a}}+\large{\frac{1}{b}}=\large{\frac{1}{f}}}\)

 กำลังขยาย \(:\boldsymbol{m=\large{\frac{|b|}{a}}}\)

 ระยะจากวัตถุถึงเลนส์ \(:a\) : เป็นบวกเสมอ
 ระยะจากเลนส์ถึงภาพ \(:b\) : ด้านหลังเลนส์เป็นบวก ด้านหน้าเลนส์เป็นลบ
      ระยะโฟกัส \(:f\) : เลนส์นูนเป็นบวก เลนส์เว้าเป็นลบ


เลนส์นูน กระจกเว้า
ตำแหน่งของวัตถุ \(a\) กำหนดให้เป็นบวก
ตำแหน่งสัมพัทธ์กับจุดโฟกัส \(a \gt f\) \(a \lt f\)
ตำแหน่งของภาพ \(b\) บวก ลบ ลบ
ชนิดของภาพ ภาพจริงหัวกลับ ภาพเสมือนหัวตั้ง ภาพเสมือนหัวตั้ง
ตำแหน่งของจุดโฟกัส \(f\) กำหนดให้เป็นบวก กำหนดให้เป็นลบ

หากวาดภาพเลนส์นูน เลนส์เว้า กระจกนูน กระจกเว้า พร้อมกันจะได้ดังรูปด้านล่างนี้ครับ

จะแบ่งเรื่องของ
เลนส์ (เลนส์นูน เลนส์เว้า) ไว้เป็นกลุ่มวิชาทัศนศาสตร์เชิงหักเห
กระจกเงาทรงกลม (กระจกเว้า กระจกนูน) ไว้เป็นกลุ่มวิชาทัศนศาสตร์เชิงสะท้อน ครับ

ตอนเลนส์จะมีจุดโฟกัส \(2\) จุด แต่กระจกเงาทรงกลมจะมี \(1\) จุดครับ

จุดซึ่งอยู่ที่ระยะสองเท่าของระยะโฟกัสถือเป็นจุดสำคัญจุดหนึ่งครับ ในกรณีของกระจกเงาทรงกลมแล้วคือรัศมีของทรงกลมครับ

สำหรับรูปแบบของภาพ เวลาที่เกิดภาพหัวกลับจะเป็นภาพจริง และ เวลาที่เกิดภาพหัวตั้งจะเป็นภาพเสมือนครับ

ความคิดเห็น